รู้หรือไม่!? โบท็อกซ์ (Botox) ไม่ได้เพียงช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเสริมความงามเท่านั้น จริงๆ แล้วยังสามารถนำมารักษาปัญหากล้ามเนื้อ และโรคทางระบบประสาทได้อีกด้วย
ประวัติของ โบท็อกซ์ Botox Botulinum Toxin หรือที่หลายๆ ท่านรู้จักกันดีในนามว่า ‘โบท็อกซ์ (Botox)’ ซึ่งแรกเริ่มได้มีการค้นพบต้นกำเนิดของสารพิษชนิดนี้ จากการระบาดของโรค ‘Botulism’ หรือสารพิษใน ‘ไส้กรอก’ (คำว่า Botulism มาจากรากศัพท์ละตินของคำว่า Botulas ที่แปลว่าไส้กรอก) ถูกค้นพบโดยสาธารณสุขจากเยอรมัน Justinus Kerner ช่วงยุคนโปเลียน (พ.ศ. 2338 - 2356)
ภาพ : Justinus Kerner สาธารณสุขจากเยอรมันที่ค้นพบ Botulism
สารพิษชนิดนี้จะออกฤทธิ์ในการทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราวได้ ซึ่งในขณะนั้นเองนาย Kerner ได้ทดลอง Botulinum Toxin กับสัตว์ และย้ายมาทดลองในตนเอง จากการสังเกตผลของการทดลองดังกล่าว สรุปได้ว่า การได้รับสาร Botulinum Toxin เพียงเล็กน้อย อาจใช้รักษาความผิดปกติต่างๆ ของระบบประสาทได้
ในช่วงเวลาถัดมาก็มีนักวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ก็มีการค้นพบประโยชน์ของ Botulinum Toxin และได้ทำการต่อยอดเพื่อใช้สารสกัดดังกล่าวในการรักษาปัญหาโรคต่างๆ ทั้งในเรื่องของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท เช่น
ในปี พ.ศ. 2438, Emile-Pierre van Ermengem นักจุลชีววิทยาชาวเบลเยี่ยม ได้ค้นพบเพิ่มเติมว่า Botulism ที่ก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยับยั้งไม่ให้เหงื่อออกนั้น มาจากสารแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ‘Clostridium Botulinum’ ซึ่งในระยะเวลาต่อมาจึงได้ใช้เป็นชื่อเรียกสามัญโดยปริยาย Emile-Pierre van Ermengem นักจุลชีววิทยาชาวเบลเยี่ยม
ในปี พ.ศ. 2513, Dr. Alan Brown Scott จักษุแพทย์ชาวอเมริกัน ได้ทำการค้นคว้า และวิจัยร่วมกับ Dr. Edward J. Schantz นักชีวเคมี จากผลการค้นคว้าวิจัย และทดลอง พบว่าพิษของ Botulinum Toxin จากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium Botulinum สามารถช่วยรักษาอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อตาของมนุษย์ จึงช่วยแก้ไขอาการตาเหล่ ตาเข ได้ และไม่นานก็ได้ต่อยอดในการรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก โรคไมเกรน อาการเหงื่อออกมากผิดปกติ ภาพ : Dr. Alan Brown Scott จักษุแพทย์ชาวอเมริกัน
ในปี พ.ศ. 2530 Dr. Jean/ Dr. J. Alastair Carruthers ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมพลาสติกและแพทย์ทางด้านโรคผิวหนัง ได้ค้นพบว่าจากการทดลองของ Dr. Alan Brown Scott ผู้ป่วยที่มีอาการตาเหล่ ตาเข หลังทำการรักษาจนหายแล้ว รอยย่นบริเวณขมวดคิ้วก็ดูน้อยลงมากกว่าในช่วงก่อนทำการรักษา จึงเริ่มทำการค้นคว้า และวิจัยเพิ่มเติมจากการสังเกตดังกล่าว จากนั้นแพทย์สองสามีภรรยาจึงได้ทำการตีพิมพ์รายงานวิจัยบทความทางการแพทย์ในปี พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับ Botulinum Toxin ที่ใช้ในการรักษาเพื่อความงามเป็นครั้งแรก Dr. Jean/ Dr. J. Alastair Carruthers ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมพลาสติกและแพทย์ทางด้านโรคผิวหนัง
โบท็อกซ์ (Botox) สามารถฉีดในจุดไหนได้บ้าง? ด้านการเสริมความงาม ฉีดบริเวณใบหน้า เพื่อลดริ้วรอย ฉีดบริเวณกรอบหน้า เพื่อยกกระชับ ฉีดบริเวณกราม เพื่อลดขนาดกล้ามเนื้อกราม ฉีดบริเวณกล้ามเนื้อน่อง เพื่อลดขนาดให้ขาเรียวสวย
ด้านการรักษาโรคทางการแพทย์ รักษาอาการตาเหล่ ตาเข หรือตากระตุก รักษาโรคกล้ามเนื้อกระตุกซีกเดียว รักษาโรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง รักษาโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รักษาโรคไมเกรนเรื้อรัง รักษาโรคลิ้นหัวใจพิการ รักษาโรค Office Syndrome
แม้ในปัจจุบันการใช้ Botulinum Toxin หรือโบท็อกซ์ (Botox) จะนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องของการรักษาโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงนิยมในการเสริมความงาม ซึ่งแม้จะใช้ในปริมาณน้อยก็สามารถส่งผลข้างเคียงได้หากไม่ระวัง ที่สำคัญที่สุดคือไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุม และดูแลโดยแพทย์ อีกทั้งต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
นอกจากนั้นสถานบริการต้องได้มาตรฐานคุณภาพ ตรวจเช็กผลิตภัณฑ์ได้อย่างโปร่งใส พร้อมค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล เช็กทุกข้อที่คุณควรทราบในการเลือกฉีดโบท็อกซ์ได้ในแอปพลิเคชันความงามที่รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ราคาดีที่สุด และเชื่อถือได้มากที่สุดเอาไว้ในแอปฯ เดียว อย่าง BEAUT โหลดเลย!
สวยชัวร์ ต้องตัวจริง โหลด BEAUT ได้แล้วที่
ระบบ IOS : https://apple.co/3dCcGgr
ระบบ ANDROID : https://bit.ly/3LASLe9