แม้ว่าในยุคนี้การศัลยกรรม การดูแลตัวเอง และการเสริมความงามด้วยนวัตกรรมต่างๆ จะเข้าถึงได้ง่าย และเข้าถึงได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ปมในใจหรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างก็อาจส่งผลให้คนคนหนึ่งมีภาวะ Body Dysmorphic Disorder หรือโรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาตัวเองได้ ก่อนอื่น BEAUT ขอพาไปรู้จักกับภาวะนี้กันอย่างลึกซึ้งกันก่อนนะคะ
Body Dysmorphic Disorder หรือ อาการไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเองคืออะไร ?
ภาวะนี้อันที่จริงแล้วเรียกได้ว่าเป็นอาการป่วยทางจิตเวชค่ะ ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกน่ากลัวแต่ต้องบอกก่อนว่าสามารถหายได้เมื่อพบกับนักบำบัด และเข้าสู่การรักษาอย่างถูกวิธี ที่สำคัญที่สุดคือ หากตัวเราเองหรือคนรอบข้าง สังเกตได้เร็วว่ามีภาวะนี้แทรกซ้อนอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือในบางอารมณ์แล้วรีบเข้าสู่การบำบัดหรือรักษา ก็จะช่วยให้ภาวะนี้ไม่รุนแรง และกลับมามีความมั่นใจมากขึ้นได้
วิธีสังเกตอาการของภาวะไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเอง
- มักจะสนใจรูปร่าง และหน้าตาของตัวเองเสมอ ส่องกระจกทั้งวัน เป็นอาการย้ำคิดย้ำทำ คิดซ้ำในใจว่าเราดูดีหรือยัง หรือคอยถามคนรอบข้างว่าตัวเองสวย หล่อ หรือดูเป็นอย่างไรบ้าง
- นอกจากจะสนใจตัวเองแล้ว ภาวะนี้ยังสนใจสิ่งที่คนอื่นพูดถึงตัวเอง แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นผ่านๆ เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาก็จะเก็บมาคิดมากเกินกว่าปกติเสมอ
- ความกังวลดังกล่าวส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน การเงิน (มีแนวโน้มที่จะดูแลตัวเองมากจนเกินกำลังทรัพย์)
- มีความคิดวนเวียนเกี่ยวกับการทำศัลยกรรม ความสวย ความงาม อยากผ่าตรงนั้น ฉีดตรงนี้ อัพตรงโน้น โดยเกิดจากความไม่พึงพอใจแม้มีการทำมาแล้วก็ยังรู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง
ข้อสังเกตเพิ่มเติม : แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนคิดจะเหมารวมว่าเป็นภาวะ Body Dysmorphic Disorder หรือ อาการไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเองไปซะทั้งหมดนะคะ หากทำสวยแต่ไม่กระทบชีวิตประจำวัน และไม่ทำใครเดือดร้อนก็ถือว่าเป็นความชอบปกติทั่วไป ไม่ใช่ภาวะของโรคแต่อย่างใดค่ะ
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะ Body Dysmorphic Disorder หรือ อาการไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเอง
มาจากการเกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นฐานจิตใจของที่มีภาวะของโรคนี้ค่ะ เริ่มต้นจากความรู้สึกไม่มั่นคง และไม่มั่นใจในตัวเอง เกิดจากการเลี้ยงดูของครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมที่โตมา รวมไปถึงความคาดหวังในตัวเองที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม บ้างก็เกิดจากการลอกเลียนแบบหรือทำตามผู้ที่มีชื่อเสียง มัดรวมไปปัจจัยหลักๆ ได้ดังนี้ค่ะ
- ค่านิยมที่ได้รับอิทธิพลมาจากคนรอบข้าง
- พื้นฐานจิตใจที่ไม่ปกติ
- สิ่งแวดล้อม และปัจจัยกระตุ้นที่มาจากภายนอกเช่น การเสพสื่อ เพื่อน
- มีความผิดปกติของร่างกายเป็นทุนเดิม เช่นสูญเสียอวัยวะ เป็นโรคผิวหนัง หรือเคยมีภาวะอ้วน
- ความผิดปกติในฮอร์โมน โดยอาการนี้มักจะเกิดจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่นภาวะที่ร่างกายมีเซโรโทนิน (Serotonin) ต่ำเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่พอใจในตัวเอง ไม่มีสมาธิ นำไปสู่โรคไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเองได้
วิธีการบำบัดหรือรักษา ภาวะ Body Dysmorphic Disorder หรือ อาการไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเอง
- รู้ให้ทันใจตัวเองเสมอ เมื่อเริ่มรู้สึกว่าไม่พอใจในตัวเองให้เบี่ยงเบนความสนใจโดยการฟังเพลง ดูทีวี ดูหนัง
- ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายรักษาสมดุลของฮอร์โมน
- ฝึกชมเชยตัวเองวันละ 1 ครั้ง ไม่ใช่แค่สวย หล่อ ดูดี และให้ชมข้อดีในการกระทำ เช่นได้ช่วยเหลือผู้คน หรือทำงานลุล่วงตามคาดหมาย
- ฝึกยอมรับข้อผิดพลาดในตัวเอง และยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบที่ทุกคนต่างมี
- หากมีภาวะที่หนักขึ้น หรือไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ สามารถเข้ารับการบำบัด และรักษาอย่างถูกต้องกับแผนกจิตเวชของโรงพยาบาล หรือ สถานบำบัดสุขภาพจิตของเอกชน
อย่างไรก็ตาม การทำสวย หรือการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งที่ทุกคนมีสิทธิที่จะทำนะคะ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของความพอดี และปลอดภัย ภาวะไม่พอใจในรูปร่าง และหน้าตาของตัวเองนั้น อาจมีผลกระทบมาจากการเสริมความงามที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย หากไม่อยากเสี่ยงแบบนี้ ดูแลตัวเองทั้งทีต้องดูแลให้ดี มั่นใจ ปลอดภัยทั้งตัวยา สถานบริการความงาม และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้ BEAUT APP เป็นเพื่อนคู่คิด มิตรความงามของคุณนะคะ
สวยชัวร์ ต้องตัวจริง โหลด BEAUT ได้แล้วที่
ระบบ IOS : https://apple.co/3dCcGgr
ระบบ ANDROID : https://bit.ly/3LASLe9